วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

แฟ้มสะสมผลงาน (e-Portfolio)

...................................................................................................................................................................

แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Portfolio)เพื่อการพัฒนาผลงานทางวิชาการ

โดย....ศน. ไพรวัลย์  วันทนา
สพป. นครราชสีมา เขต ๑

...................................................................................................................................................................

                   e-Portfolio   เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ในระบบ Online ผ่านทางอินเทอร์เน็ต สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนข้อมูลและเนื้อหาสาระจากแฟ้มผลงานที่เป็นแผ่นกระดาษ (Hard copy portfolio) เพื่อเก็บไว้เป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัล สำหรับการนำเสนอตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบความสำเร็จในระดับใด โดยการนำเสนอผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ (Web Browser)


วัตถุประสงค์

     เพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่า ผลงานที่ทำเป็นอย่างไร ประสบผลสำเร็จในระดับใด มีระบบหรือไม่ ควรจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ เพื่อให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้ประเมินของแฟ้ม ว่ามีความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร

ลักษณะของ e-Portfolio 

      แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
     1. เครื่องมือสาหรับการเรียนรู้ โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นที่เกิดจากการทางาน การค้นคว้าข้อมูล
     2. เครื่องมือที่สาหรับแสดงสมรรถนะ แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน
     3. เครื่องมือสาหรับการประเมิน ทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางาน และ การประเมินผลลัพธ์ (summative evaluation) ประเมินผลงานที่เป็นผลจากการดาเนินงาน การประเมินจะต้องแสดงให้เห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง สาหรับวางแผนการพัฒนาสมรรถนะในอนาคต

ประเภทของ e-Portfolio
     
     1. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (Learning portfolios) เป็นการเก็บผลงานหรือชิ้นงานที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอน อาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียน
     2. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการสมัครงานหรือประกอบอาชีพ (Employment/Career/Professional portfolio)
     3. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำปรึกษาทางวิชาการ (Academic Advising) โดยแฟ้มประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้มีการตอบโต้ระหว่างเจ้าของแฟ้ม และผู้ขอรับคำปรึกษา
     4. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความเป็นตัวตน (Self-awareness) อธิบายการรับรู้และรู้จักความสามารถของตัวเราเอง จะต้องรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เก่งอะไร
     5. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้คำแนะนำในการศึกษาต่อ (Study Guidance)
     6. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสียง (Students at-Risk) Assistance) สำหรับกิจกรรมช่วยเหลือผู้เรียนหรือแนะแนวทั้งในและนอกสถานศึกษา

องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
       การสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ควรคํานึงถึงเนื้อหาที่ชัดเจนและมีความครบถ้วน เพื่อระบุถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ตรงประเด็น  ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
       1. จุดมุ่งหมายของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
       2. เนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
       3. การพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
       4. การประเมินตนเอง
       5. ระบบการจัดการอิเล็กทรอนิกส์
       6. การประเมินผลแฟ้มสะสมงานเล็กทรอนิกส์

ขั้นตอนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
          การพัฒนาหรือการสร้างแฟ้มสะสมงานอเล็กทรอนิกส์ต้องคำถึงเรืองเนื้อหา  ชิ้นงาน การประเมิน ซึงมีส่วนประกอบรายละเอียดสามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้
     1. การเตรียมเครื่องมือและกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เกี่ยวข้อง
     2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
     3. การเก็บรวบรวมผลงานหรือหลักฐานในแฟ้มสะสมงานชั่วคราว และการสะท้อนความคิดจากการเรียนรู้
     4. การประเมินแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
     5. การคัดเลือกผลงานที่ผ่านการประเมินแล้ว
     6. การนำเสนอแฟ้มผลงาน
     7. การประเมินแฟ้มสะสมงาน

การประยุกต์ใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษา

นักเรียน
     - ใช้เป็นตู้โชว์แสดงความสำเร็จจากการเรียนบนหน้าเว็บเพจ
     - ใช้เป็นแหล่งรวบรวมและสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของนักเรียน
     - เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การศึกษาและการทำงานของนักเรียน
     - เพื่อสร้างแผนของการศึกษาออนไลน์และการทำงานกับครูหรือที่ปรึกษาของนักเรียน

อาจารย์ผู้สอน
     - การสร้างโครงการ/ผลงานที่มีเกณฑ์การให้คะแนน
     - การสร้างโครงการร่วมกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาอื่น
     - การทำงานออนไลน์ ร่วมกับนักเรียนนักศึกษา สามารถให้ความเห็นและผลคะแนนได้
     - การสร้างแฟ้มผลงานที่ส่งเสริมการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียน
     - เป็นตู้โชว์ความสำเร็จหรือผลผลิตจากการจัดการเรียนการสอน

สถาบันการศึกษา
     - เป็นแหล่งเก็บผลงานของนักเรียน เพื่อการประเมินผลการเรียน
     - ใช้เป็นเก​​ณฑ์การให้คะแนนตามผลงานที่ปรากฏ
     - สร้างรายงานผลการจัดการเรียนการสอนได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น

ข้อดี
     1. ลดการใช้ทรัพยากรสำนักงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
     2. สะดวกต่อการบริหารจัดการ
     3. สะดวกสาหรับผู้บริหารในการพิจารณาผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากร
     4. นำเสนอผลงานได้ตรงตามจุดประสงค์
     5. เข้าถึงผลงานโดยสะดวก เนืองจากเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดระบบผลงาน
     6. เก็บสะสมผลงานได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความ สื่อ มัลติมีเดียต่างๆ

ข้อจำกัด
     1. การสร้างหรือแก้ไขแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จึงไม่สะดวกหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ขาดไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
     2. ผู้ชมผลงานหรือผู้ใช้บริการที่ขาดความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ จะไม่สามารถเข้าชมหรือใช้บริการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ได้
     3. ไม่เหมาะกับผู้เรียนและผู้สอน ที่ขาดความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
     4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตนเอง

สรุป

e-Portfolio เป็นอีกขั้นของพัฒนาการในการเก็บรวบรวมสารสนเทศ ที่เปลี่ยนจากเอกสาร เป็นไฟล์ข้อมูล เปลี่ยนที่เก็บจากตู้หรือชั้นวางของ เป็นการเก็บข้อมูลไว้ในระบบการประมวลผลบนก้อนเมฆ (Cloud Computing Technology) ซึ่งจะมีความเสถียร ประหยัดค่าใช้จ่ายและพื้นที่ในการจัดเก็บ อีกทั้งยังสามารถนำมาประมวลผล อ้างอิง ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ได้อย่างง่ายดาย ทุกที่ทุกเวลา จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้ในงานจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี